วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555


                         บทที่ 4
                      จิตวิทยาการเรียนการสอน

จิตวิทยา (อังกฤษ: psychology) คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ (กระบวนการของจิต) , กระบวนความคิด, และพฤติกรรม ของมนุษย์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เนื้อหาที่นักจิตวิทยาศึกษาเช่น การรับรู้ (กระบวนการรับข้อมูลของมนุษย์) , อารมณ์, บุคลิกภาพ, พฤติกรรม, และรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล จิตวิทยายังมีความหมายรวมไปถึงการประยุกต์ใช้ความรู้กับกิจกรรมในด้านต่าง ๆ ของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน (เช่นกิจกรรมที่เกิดขึ้นในครอบครัว, ระบบการศึกษา, การจ้างงานเป็นต้น) และยังรวมถึงการใช้ความรู้ทางจิตวิทยาสำหรับการรักษาปัญหาสุขภาพจิต นักจิตวิทยามีความพยายามที่จะศึกษาทำความเข้าใจถึงหน้าที่หรือจุดประสงค์ต่าง ๆ ของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากตัวบุคคลและพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในสังคม ขณะเดียวกันก็ทำการศึกษาขั้นตอนของระบบประสาทซึ่งมีผลต่อการควบคุมและแสดงออกของพฤติกรรม
จิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่ศึกษาค้นคว้าเพื่อนำข้อมูลความรู้มาเสนอ อธิบาย และเพื่อควบคุมและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์ จิตวิทยามุ่งศึกษาด้านความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการของร่างกายกับจิตใจ ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นระเบียบแบบแผน เพราะร่างกายและจิตใจมักมีการแสดงออกร่วมกัน อีกทั้งยังแสดงออกในแนวทางที่สามารถทำนายได้

ภาษาทางจิตวิทยา
จิตวิทยาก็มีการบัญญัติศัพท์ขึ้นมาเพื่อใช้ในการศึกษาเช่นเดียวกับศาสตร์อื่น ๆ คำศัพท์บางส่วนประกอบด้วยคำศัพท์ที่คนทั่วไปใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน คำศัพท์บางคำก็เป็นคำศัพท์ทางวิชาการที่คุ้นเคย ถึงแม้ศัพท์บางคำจะเป็นที่เข้าใจ และคุ้นเคยของคนทั่วไป แต่นักจิตวิทยาก็ได้ให้ความหมายเฉพาะเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในการศึกษาจิตวิทยา



 ปัญหาและการเลือกปัญหาของนักจิตวิทยา
เหมือนกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทั่วไป กระบวนการทางจิตวิทยา เริ่มจากการเลือกปัญหาที่สนใจ แล้วจึง สังเกต ศึกษา หรือทดลอง อย่างเป็นระบบ เพื่อรวบรวมข้อเท็จจริงที่จำเป็นต่อการแก้ปัญหา แล้วทำการรวบรวม เรียบเรียง และตีความข้อเท็จจริงที่ได้ หากนักจิตวิทยาพบแนวทางที่จะแก้ปัญหาหรือตอบคำถามที่กำหนด และสามารถนำมาสัมพันธ์ เกี่ยวข้องเป็นคำตอบของคำถามกว้าง ๆ ได้ นักจิตวิทยาก็จะสนใจ และลงมือศึกษาทันที แต่บางครั้งปัญหาก็เกิดขึ้นจากการสังเกตสิ่งรอบๆ ตัว

นักจิตวิทยาได้แบ่งความคิดเห็นเกี่ยวกับการศึกษาทางจิตวิทยาออกเป็น 3 ฝ่าย ได้แก่ กลุ่มแรกเห็นว่า การเลือกปัญหานั้น ขึ้นอยู่กับสถานการณ์เฉพาะหน้าของนักจิตวิทยา กลุ่มที่สองนั้นกลับเห็นว่า การเลือกปัญหาและการตั้งคำถามควรจะเป็นไปตามทฤษฎี และกลุ่มหลังเห็นว่าความอยากรู้อยากเห็นที่เกิดขึ้นเอง เป็นแรงจูงใจที่ดีที่สุดสำหรับการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ แต่เมื่อเรามองโดยรวมแล้ว จะเห็นว่าทั้งความอยากรู้อยากเห็นและทฤษฎี ต่างก็มีส่วนช่วยในการสังเกต อธิบาย และตีความข้อเท็จจริงต่าง ๆ เพราะทฤษฎีนั้นมีบทบาทที่ช่วยให้เราเข้าใจสิ่งที่สังเกต และชี้ให้เห็นคำถามใหม่ ๆ อีกทั้งยังชี้ให้เห็นความเป็นไปได้ของข้อมูลต่าง ๆ ดังนั้นทฤษฎีจึงมีประโยชน์และมีบทบาทเป็นที่ยอมรับทั่วไปและทั่วโลกก็ต่างกันยอรับ

 ทฤษฎีสำหรับผู้ป่วยทางด้านจิตวิทยา

ในทางจิตวิทยานั้นมีทฤษฎีสำหรับผู้ป่วยทางด้านจิตวิทยาอยู่มากมาย หลักนั้นมี ทฤษฎีความสับสน คือ ผู้ป่วยนั้นจะเกิดความสับสนและแปรปรวนทางด้านอารมณ์ เกิดจากความไม่แน่นอนของจิต ซึ่งส่วนมากอาการที่แสดงออกมักจะเป็นการทำสิ่งที่ไม่ค่อยปกติ กังวน ไม่แน่นอน และอื่นๆ ทฤษฎีการปฏิเสธ คือ การที่ผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตใจซึ่งอาจเกิดจากปัญหาทางบ้าน, ปัญหาทางด้านสังคม ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะโยนเอาปัญหาที่ตัวเองมีอยู่ให้กับผู้อื่น เนื่องจากการที่ไม่สามารถยอมรับปัญหาเหล่านั้นได้ โดยมากแล้วปัญหาเหล่านี้มักจะหายในระยะเวลาไม่นานนัก แต่หากยังมีอยู่ควรพบจิตแพทย์--ดร.แอล.ดี.ชลิปป


วิธีการทางวิทยาศาสตร์
เหมือนกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ทั่วไป วิธีการทางจิตวิทยาประกอบด้วย 2 ขั้นตอนใหญ่ ๆ คือ ขั้นการสังเกตองค์ประกอบหรือตัวแปรที่สำคัญ ๆ อย่างมีระบบ และขั้นการรวบรวมและตีความข้อมูลที่ได้มา ซึ่งการดำเนินการสังเกตอย่างมีระบบ คือ ความพยายามที่จะกำจัดอิทธิพลของอคติหรือความลำเอียงของผู้สังเกต และสามารถรับรองได้ว่า การสังเกตนั้นสามารถกระทำซ้ำได้
 วิธีการสังเกตอย่างมีระบบนั้น มี 2 วิธี ได้แก่ วิธีการทดลอง (experimental method) โดยสร้างสถานการณ์ ขึ้นเพื่อสังเกตสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดตามมา และวิธีการหาความสัมพันธ์ (correlation method) โดยการสังเกตเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
วิธีการทดลอง
 ผู้สังเกตจะถูกเรียกว่าผู้ทดลองที่จะสร้างสภาวะหรือตัวแปรขึ้นมา เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์หรือผลกระทบต่อ ตัวแปรอื่น ๆ อาจเป็นการเปรียบเทียบตัวแปรระหว่างกลุ่มทดลอง 2 กลุ่มหรือมากกว่านั้น แล้วรายงานผลการทดลอง หรือผลจากการรวบรวมและตีความหมายของการเปรียบเทียบที่ได้จากการทดลอง วิธีการนี้นิยมกระทำในห้องทดลองหรือห้องปฏิบัติการ เพราะสามารถควบคุมตัวแปรหรือสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ตามที่ต้องการ หรือให้เหลือน้อยที่สุด อีกทั้งการสังเกตก็ สามารถกระทำได้ง่ายและมีความถูกต้องแม่นยำ
 ตัวแปรที่ใช้ในการทดลองแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ตัวแปรอิสระ ซึ่งหมายถึงตัวแปรที่ถูกกำหนดขึ้น และ ตัวแปรตาม ซึ่งหมายถึงตัวแปรที่คาดว่าจะเป็นผลจากการกระทำกับตัวแปรอิสระ
 หลังจากได้ทราบผลจากการทดลองแล้ว ผู้ทดลองต้องทำการสรุปแล้วรายงานผลการทดลองให้ผู้อื่นทราบ เพื่อให้ผู้อื่นสามารถนำผลดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ หรือทำการศึกษาต่อยอดความรู้ออกไป
วิธีการหาความสัมพันธ์
วิธีการหาความสัมพันธ์ เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ของตัวแปรตั้งแต่สองตัวขึ้นไป โดยที่ไม่ได้เจาะจงว่าตัวแปรใดมีอิทธิพลเหนือตัวแปรใด ค่าความสัมพันธ์ของตัวแปร 2 ตัว เรียกว่า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (coefficient correlation) ซึ่งจะมีค่าระหว่าง -1.00 ถึง 1.00

โครงสร้างของจิตวิทยา

จิตวิทยาประกอบด้วยโครงสร้าง 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
 1.ลักษณะเนื้อหาวิชา แบ่งเป็นเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ พัฒนาการของมนุษย์, พันธุกรรม, ระบบการตอบสนอง, การรับรู้, การรู้สึก, แรงจูงใจ, อารมณ์, ภาษา การคิด และการแก้ปัญหา, เชาวน์ปัญญาและการทดสอบเชาวน์ปัญญา, บุคลิกภาพแบบต่าง ๆ และการประเมินบุคลิกภาพ, รูปแบบต่างๆของพยาธิสภาพทางพฤติกรรม, จิตบำบัด, และจิตวิทยาชุมชน
 2.เป้าหมายของจิตวิทยา เป้าหมายของการศึกษาได้มาจากวิธีการที่แตกต่างกัน 3 ประเภท ได้แก่

การวิจัยบริสุทธิ์หรือการวิจัยพื้นฐาน มาจากการค้นคว้าด้วยใจรัก ค้นหาหลักการของพฤติกรรมทั้งของมนุษย์และสัตว์ โดย ไม่ได้คำนึงว่าจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับสังคมได้หรือไม่ ผู้วิจัยต้องเป็นผู้มีระเบียบแบบแผน มีจรรยาบรรณของนักวิจัย มีจริยธรรมและความเป็นกลางทางสังคม
 1.การวิจัยประยุกต์ ให้ความสนใจในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ผลจากการวิจัยในปัญหานี้สามารถ นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ การวิจัยดังกล่าวต้องได้รับการวางแผนดำเนินการ ควบคุมวิธีการด้วยความระมัดระวัง การวิจัย บริสุทธิ์ก่อให้เกิดการวิจัยประยุกต์อย่างมีแบบแผน
 2.การประยุกต์ใช้ เป็นการประยุกต์คำตอบที่ได้ ไปใช้ในสถานการณ์จริงๆ ในโลกซึ่งไม่มีการควบคุม สภาวะใดๆ นักจิตวิทยากลุ่มที่มีการประยุกต์ใช้มากที่สุด คือ นักจิตวิทยาคลินิก รองลงมาคือ นักจิตวิทยาการศึกษา
 3.สถานที่ดำเนินงานทางจิตวิทยา นักจิตวิทยาสาขาต่างๆทำงานในสถานที่แตกต่างกัน บางสาขาทำวิจัยและสอนในมหาวิทยาลัยและวิทยาลัย บาง สาขาทำงานในคลินิกและโรงพยาบาล, ศูนย์บริการให้คำแนะนำปรึกษาต่างๆในโรงเรียน, บริษัทหรือโรงงานอุตสาหกรรม, ศูนย์สุขภาพจิต ศูนย์ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ศูนย์พักฟื้นคนไข้ที่เพิ่งถูกส่งออกจากโรงพยาบาล ศูนย์บริการประชาชน เป็นต้น

ประวัติความเป็นมาของจิตวิทยา

จิตวิทยาได้เริ่มขึ้นโดยนักปราชญ์ชาวกรีก ชื่อ เพลโต และอริสโตเติล เพลโตเชื่อว่าการคิดและการใช้เหตุผลเท่านั้น ที่ทำให้คนเกิดความเข้าใจในสิ่งที่เขาสามารถจะเข้าใจได้ โดยไม่สนใจวิธีการสังเกตหรือการทดลองใด ๆ แต่อริสโตเติลกลับเป็นนักสังเกตสิ่งรอบตัว เขาสนใจสิ่งภายนอกที่มองเห็นได้ การเข้าใจปรากฏการณ์ตามธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับคนต้องเริ่มด้วยการสังเกตอย่างมีระบบ

ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ศาสนาเริ่มเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยแนวคิดทางศาสนาเน้นว่าจิตเป็นส่วนที่แยกออกจากร่างกาย

ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 การฟื้นฟูการสืบสวนโดยวิธีทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นการละทิ้งความเชื่อแบบเดิม ๆ มีการค้นหาความรู้ใหม่ ๆ วิธีการก็เริ่มมีลักษณะที่เป็นวิทยาศาสตร์ ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฟรานซิส เบคอน กล่าวว่า ทฤษฎีให้แนวทาง การวิจัยให้คำตอบโดยชี้ให้เห็นถึงความสำคัญระหว่างทฤษฎีและการวิจัย

กลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีกลุ่มแนวคิดที่สำคัญเกิดขึ้น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มประจักษ์นิยมชาวบริเตน (British Empiricism) ที่เชื่อว่า ความรู้ผ่านเข้ามาทางสื่อกลางของความรู้สึก จิตเป็นที่รวมของความคิดเห็น นักจิตวิทยากลุ่มนี้มีบทบาทสำคัญต่อการเกิดจิตวิทยากลุ่มสัมพันธนิยม (Associationistic Psychology) นักจิตวิทยาอีกกลุ่มหนึ่งกลับสนใจทางชีวภาพ เช่น ความแตกต่างระหว่างประสาทส่วนรับความรู้สึกกับประสาทส่วนการเคลื่อนไหว และ ลักษณะทางกายที่แสดงปฏิกิริยาสะท้อน (reflex) นักจิตวิทยากลุ่มนี้พยายามอธิบายการกระทำของมนุษย์ด้วยหลักการทางฟิสิกส์ คือ จิตฟิสิกส์ ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้วัดความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางกายภาพของสิ่งเร้ากับประสบการณ์รู้สึกที่ผู้ที่ถูกเร้ารายงานออกมา


จิตวิทยาในประเทศไทย

หลายคนเชื่อว่าจิตวิทยาเกิดขึ้นในโลกเมื่อ 2,500 กว่าปีมาแล้ว นั่นคือ จิตวิทยาทางพระพุทธศาสนา นั่นเอง สำหรับในประเทศไทยนั้น เพิ่งมีหลักฐานปรากฏว่ามีการสอนวิชาจิตวิทยาในโรงเรียนฝึกหัดครูปฐม ในช่วงเวลาก่อน พ.ศ. 2473 เล็กน้อย และในปี พ.ศ. 2473 ก็มีการสอนจิตวิทยาเป็นวิชาหนึ่งใน 5 วิชา ของการสอนวิชาครุศาสตร์ในคณะอักษรศาสตร์และครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จนกระทั่ง ปีพุทธศักราช 2507 ก็ได้เกิดภาควิชาจิตวิทยา ที่เปิดการเรียนการสอนอย่างเป็นทางการในระดับชั้นปริญญาตรีขึ้นในประเทศไทยเป็นแห่งแรก ที่ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยเป็นหลักสูตร 4 ปี เมื่อศึกษาสำเร็จแล้วจะได้วุฒิ "ศิลปศาสตรบัณฑิต(จิตวิทยา)"

กระทรวงศึกษาธิการด้วยความช่วยเหลือขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้จัดตั้ง สถาบันระหว่างชาติสำหรับการค้นคว้าเรื่องเด็กขึ้นในวิทยาลัยวิชาการศึกษา (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ) ซึ่งนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาค้นคว้าและเผยแพร่วิชาเกี่ยวกับจิตวิทยาเด็ก ต่อมามีการศึกษาที่กว้างขวางมากขึ้น ใน สถาบันอื่นก็ได้เปิดหลักสูตรวิชาจิตวิทยาในหลายสาขา ในปัจจุบันและในอนาคต มีการคาดหวังไว้ว่าจิตวิทยาในประเทศไทย จะเจริญก้าวหน้า ช่วยพัฒนาทรัพยากรบุคคลของชาติต่อไป
พฤติกรรมมนุษย์ - ปัจจัยพื้นฐานด้านจิตวิทยา

ปัจจัยสำคัญอีกปัจจัยหนึ่งซึ่งมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมมนุษย์ ได้แก่ ปัจจัยทางจิตวิทยา ซึ่งมีปัจจัยย่อยอยู่หลายปัจจัย ปัจจัยทางจิตวิทยา จะทำหน้าที่ เป็นสื่อกลางในการรับรู้และตีความสิ่งเร้าก่อนที่ร่างกายจะแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ปัจจัยทางจิตวิทยาที่สำคัญ ประกอบด้วย แรงจูงใจและ การเรียนรู้

1. แรงจูงใจ

1.1 ความหมาย ประเภทและปัจจัย
 แรงผลักดันจากภายในที่ทำให้ให้มนุษย์เกิดพฤติกรรมตอบสนองอย่างมีทิศทางและ เป้าหมาย เรียกว่า แรงจูงใจ คนที่มีแรงจูงใจ ที่จะทำ พฤติกรรมหนึ่งสูงกว่า จะใช้ความพยายามนำ การกระทำไปสู่เป้าหมายสูงกว่า คนที่มีแรงจูงใจต่ำกว่า แรงจูงใจของมนุษย์จำแนกได้เป็น 2 ประเภทหลัก ประเภทแรก ได้แก่ แรงจูงใจทางกาย ที่ทำให้มนุษย์แสดงพฤติกรรมสนองความต้องการ ที่จำเป็นทางกาย เช่น หาน้ำ และอาหารมา ดื่มกิน เมื่อกระหายและหิว ประเภทที่สอง ได้แก่ แรงจูงใจทางจิตซึ่งเกี่ยวข้องกับ ความต้องการทางสังคม เช่น ความต้องการความสำเร็จ เงิน คำชมอำนาจ กลุ่มและพวก เป็นต้น ปัจจัยที่ทำให้เกิดแรงจูงใจในมนุษย์ ประกอบด้วย

1.1.1 ปัจจัยทางชีวภาพ ได้แก่ ความต้องการจำเป็นของชีวิต คือ อาหาร น้ำ ความปลอดภัย
1.1.2 ปัจจัยทางอารมณ์ เช่น ความตื่นเต้น วิตกกังวล กลัว โกรธ รัก เกลียด และความรู้สึกอื่นใด ที่ให้คนมีพฤติกรรม ตั้งแต่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่จนถึง การฆ่าผู้อื่น
1.1.3 ปัจจัยทางความคิด เป็นปัจจัยที่กำหนดให้บุคคลกระทำในเรื่องที่คิดว่า เหมาะสมและเป็นไปได้ และตามความคาดหวังว่า ผู้อื่นจะสนองตอบ การกระทำของตนอย่างไร
1.1.4 ปัจจัยทางสังคม เป็นปัจจัยที่กำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ เพื่อให้สอดคล้องกับสังคม และเป็นที่ยอมรับ ของบุคคลในสังคมนั้นด้วย การกระทำของผู้อื่นและผลกรรมที่ได้รับจึงทำให้เกิดการเรียนรู้พฤติกรรมทางสังคม ซึ่งเป็นไปกฏระเบียบ และตัวแบบทางสังคม
 1.2 ทฤษฎีแรงจูงใจ
นักจิตวิทยาได้พัฒนาทฤษฎีเพื่ออธิบายถึงแรงจูงใจของมนุษย์ เพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ปรากฏ แต่ละทฤษฎีมีจุดที่เป็น ความแนวคิด เกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ที่แตกต่างกันไป ที่สำคัญได้แก่ ทฤษฎีสัญชาติญาณ ทฤษฎีแรงขับ ทฤษฎีการตื่นตัว และทฤษฎีสิ่งล่อใจ
1.2.1 ทฤษฎีสัญชาติญาน (Instinct Theory)
 สัญชาติญาน เป็น พฤติกรรมที่มนุษย์ แสดงออกโดยอัตโนมัติ ตามธรรมชาติของชีวิต เป็นความพร้อม ที่จะทำ พฤติกรรม ได้ในทันที เมื่อปรากฎ สิ่งเร้า เฉพาะต่อพฤติกรรมนั้น สัญชาติญาณ จึงมีความสำคัญต่อ ความอยู่รอด ของชีวิต ในสัตว์บางชนิด เช่นปลากัดตัวผู้จะแสดงการก้าวร้าว พร้อมต่อสู้ ทันทีที่เห็นตัวผู้ตัวอื่น สำหรับ ใน มนุษย์ สัญชาติญาณ อาจจะไม่แสดงออกมา อย่างชัดเจนในสัตว์ชั้นต่ำ แต่บุคคลสามารถรู้สึกได้ เช่น ความใกล้ชิด ระหว่าง ชายหญิง ทำให้เกิด ความต้องการทางเพศได้ พฤติกรรมนี้ไม่ต้องเรียนรู้ เป็นรูปแบบพฤติกรรมที่ตายตัว แน่นอน ซึ่งกำหนดมา ตามธรรมชาติจาก ปัจจัยทางชีวภาพ ในปัจจุบันการศึกษา สัญชาตญาน เป็นเพียงต้องการ ศึกษา ลักษณะ การตอบสนอง ขั้นพื้นฐาน เพื่อความเข้าใจ พฤติกรรม เบื้องต้นเท่านั้น
1.2.2 ทฤษฎีแรงขับ (Drive Reduction Theory)
 แรงขับ (Drive) เป็นกลไกภายในที่รักษาระบบทางสรีระ ให้คงสภาพสมดุลในเรื่องต่าง ๆ ไว้ เพื่อทำให้ ร่างกายเป็น ปกติ หรืออยู่ในสภาพ โฮมิโอสแตซิส (Homeostasis) โดยการปรับระบบให้เข้ากับ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ทฤษฎีแรงขับอธิบายว่า เมื่อเสียสมดุลในระบบ โฮมิโอสแตซิส จะทำให้เกิดความต้องการ (Need) ขึ้น เป็นความต้องการทางชีวภาพเพื่อรักษาความคงอยู่ของชีวิต และความต้องการนี้ จะทำให้เกิด แรงขับ อีกต่อหนึ่ง
แรงขับเป็น สภาวะตื่นตัว ที่พร้อมจะทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้กลับคืนสู่สภาพสมดุลเพื่อลดแรงขับนั้น (Drive Reduction) ตัวอย่างเช่น การขาดน้ำในร่างกาย จะทำให้เสียสมดุลทางเคมี ในเลือด เกิดความต้องการเพิ่มน้ำ ในร่างกาย แรงขับ ที่เกิดจากต้องการน้ำคือ ความกระหาย จูงใจให้เราดื่มน้ำหรือหาน้ำมาดื่ม หลังจากดื่มสม ความต้องการแล้ว แรงขับก็ลดลง กล่าวได้ว่า แรงขับผลักดันให้คนเรามีพฤติกรรม ตอบสนอง ความต้องการ เพื่อทำให้ แรงขับ ลดลงสำหรับที่ร่างกาย จะได้กลับสู่ สภาพสมดุล อีกครั้งหนึ่ง
แรงขับ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ แรงขับปฐมภูมิ (Primary Drive) และ แรงขับทุติยภูมิ (Secondary Drive) แรงขับที่เกิดจาก ความต้องการพื้นฐานทางชีวภาพ เช่น ความต้องการอาหาร น้ำ ความต้องการและแรงขับประเภทนี้ เกิดขึ้นเองโดยไม่ต้องเรียนรู้ เป็นแรงขับ ประเภทปฐมภูมิ ส่วนแรงขับทุติยภูมิ เป็นแรงขับที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ แรงขับประเภทนี้ เมื่อเกิดแล้วจะจูงใจคนให้กระทำสิ่งต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการอย่างไม่มีวันสิ้นสุด เช่น คนเรียนรู้ว่า เงินมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับการสนองความต้องการอาหาร ที่อยู่อาศัยและอื่น ๆ อีกมาก การไม่มีเงิน จึงเป็นแรงขับทุติยภูมิสามารถจูงใจให้คนกระทำพฤติกรรมต่าง ๆ เพื่อให้ได้เงินมาตั้งแต่การทำงานหนัก จนถึงการทำ สิ่งที่ผิดกฎหมาย เช่น การปล้นธนาคาร
 1.2.3 ทฤษฎีการตื่นตัว (Arousal Theory)
 มนุษย์ถูกจูงใจให้กระทำพฤติกรรมบางอย่าง เพื่อรักษาระดับการตื่นตัวที่พอเหมาะ (Optimal level of arousal) เมื่อมีระดับการตื่นตัวต่ำลง ก็จะถูกกระตุ้นให้เพิ่มขึ้น และเมื่อการตื่นตัวมีระดับสูงเกินไปก็จะถูกดึงให้ลดลง เช่น เมื่อรู้สึกเบื่อคน จะแสวงหาการกระทำที่ตื่นเต้น เมื่อตื่นเต้นเร้าใจมานานระยะหนึ่ง จะต้องการพักผ่อน เป็นต้น คนแต่ละคนจะมีระดับการตื่นตัวที่พอเหมาะแตกต่างกัน
การตื่นตัวคือ ระดับการทำงานที่เกิดขึ้นในหลาย ๆ ระบบของร่างกาย สามารถวัดระดับการทำงานนี้ได้จากคลื่นสมอง การเต้นของหัวใจ การเกร็งของกล้ามเนื้อ หรือจากสภาวะของอวัยวะต่าง ๆ ขณะที่หลับสนิทระดับการตื่นตัวจะต่ำที่สุด และสูงสุดเมื่อตกใจหรือตื่นเต้นสุดขีด การตื่นตัวเพิ่มขึ้นได้จากความหิว กระหายน้ำหรือแรงขับทางชีวภาพอื่น ๆ หรือจากสิ่งเร้าที่เข้มข้น รุนแรง เหตุการณ์ไม่คาดหวังไว้ก่อน หรือจากสารกระตุ้นในกาแฟ และยาบางชนิด
 การทำงานจะที่มีประสิทธิภาพสูง เมื่อมีระดับการตื่นตัวปานกลาง ระดับการตื่นตัวที่สูงเกินไปจะรบกวนความใส่ใจ การรับรู้ การคิด สมาธิ กล้ามเนื้อทำงานประสานกันได้ยาก เมื่อระดับการตื่นตัวต่ำ คนเราทำงานที่ยากและมีรายละเอียดได้ดี แต่ถ้าเป็นงานที่ง่ายจะทำได้ดีเมื่อระดับ การตื่นตัวสูง คนที่มีระดับการตื่นตัวสูงเป็นนิสัย มักสูบบุหรี่ ดื่มสุรา กินอาหารรสจัด ฟังดนตรีเสียงดัง มีความถี่เรื่องเพศสัมพันธ์ ชอบการเสี่ยงและลองเรื่องใหม่ ๆ ส่วนคนที่มีระดับการตื่นตัวต่ำเป็นปกติ มักมีพฤติกรรมที่ไม่เร้าใจมากนัก ไม่ชอบการเสี่ยง ความแตกต่างในระดับพอเหมาะของการตื่นตัว เกิดจากพื้นฐานทางชีวภาพเป็นเรื่องหลัก และทำให้มีบุคลิกภาพแตกต่างกันไปด้วย
1.2.4 ทฤษฎีสิ่งจูงใจ (Incentive Theory)
ปัจจัยภายนอกหรือสิ่งแวดล้อมที่จูงใจจะดึงดูดให้คนมุ่งไปหาสิ่งนั้น มนุษย์กระทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อแสวงหาสิ่งที่พอใจ (Positive Incentives) เช่น รางวัล คำยกย่อง สิทธิพิเศษ และหลีกเลี่ยงสิ่งที่ไม่พอใจ(Negative Incentives) เช่น ถูกลงโทษ ถูกตำหนิ ทำให้เจ็บกาย การที่คนมี พฤติกรรมแตกต่างกัน หรือพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป ขึ้นอยู่กับความแตกต่างในคุณค่า (Values) ของสิ่งจูงใจ ถ้าคิดว่าการกระทำอย่างใด อย่างหนึ่ง จะได้รับผลคุ้มค่าก็จะมีแรงจูงใจให้บุคคลกระทำอย่างนั้น
จิตวิทยาการเรียนรู้
.....การเรียนรู้เกิดจากการรับรู้ของระบบประสาท และการแปลรหัสการรับรู้ให้สมองสั่งการ ความรู้สึกใดที่สมองได้บันทึกและจดจำไว้จะเรียกว่าประสบการณ์ เมื่ออวัยวะสัมผัสต่อสิ่งเดิมอีกจะเกิดการระลึกได้องค์ประกอบของการเรียนรู้
.....1. สติปัญญาของผู้รับรู้ ถ้าสติปัญญาดีจะเรียนรู้ได้เร็ว
.....2. ความตั้งใจในกิจกรรมที่ผู้รับรู้สัมผัส
.....3. ความสนใจ การมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งนั้น
.....4. สภาพจิตใจของผู้รับรู้ในขณะนั้น
......พฤติกรรมการเรียนรู้
.....จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้แบ่งเป็น 3 กลุ่ม
.....1. พุทธนิยม หมายถึง การเรียนรู้ในด้านความรู้ ความเข้าใจ
.....2. จิตพิสัย หมายถึง การเรียนรู้ด้านทัศนคติ ค่านิยม ความซาบซึ้ง
.....3. ทักษะพิสัย หมายถึง การเรียนรู้เกี่ยวกับการกระทำหรือปฏิบัติงานการเรียนรู้กับการเรียนการสอนในการสอนที่ดี ผู้สอนจำเป็นต้องนำทฤษฎีการเรียนรู้มาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์ในการเรียนรู้ ซึ่งสามารถกระทำได้หลายสถานการณ์ เช่น
.........1. การมีส่วนร่วมในการรับรู้ โดยให้ผู้เรียนมีโอกาสคิดและไตร่ตรอง
.........2. การทราบผลย้อนกลับ การให้ผู้เรียนได้รับทราบผลของการทำกิจกรรมต่าง ๆ
.........3. การเสริมแรง ทำให้ผู้เรียนมีความภาคภูมิใจ
.........4. การเรียนรู้ตามระดับขั้น โดยจัดความรู้จากง่ายไปยาก.

จิตวิทยาพัฒนาการ
.......เป็นจิตวิทยาแขนงหนึ่งที่มุ่งศึกษามนุษย์ทุก วัยตั้งแต่ปฏิสนธิจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต ในทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านการเจริญเติบโตทางร่างกาย ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก เจตคติ พฤติกรรมการแสดงออก สังคม บุคลิกภาพ ตลอด จนสติปัญญาของบุคคลในวัยต่างกัน เพื่อให้ทราบถึงลักษณะพื้นฐาน ความเป็นมา จุดเปลี่ยน จุดวิกฤตในแต่ละวัย
การรับรู้และการเรียนรู้

.....การเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมซึ่งเนื่องมาจากประการณ์หรือการฝึกหัดและพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปนั้นมีลักษณะค่อนข้างถาวร

.....หลักของการเรียนรู้ มี 3 รูปแบบ คือ
.....1.การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก (classical conditioning)เป็นการทดลองโดยใช้สัตว์เป็นตัวทดลอง มีผงเนื้อและกระดิ่งเป็นสิ่งเร้า จะใช้กระดิ่งเป็นตัววางเงื่อนไข จึงเรียกกระบวนการนี้ว่า การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก
.....2.การวางเงื่อนไขในมนุษย์วัตสัน และเรย์นอร์ ได้ร่วมกันวางเงื่อนไขกับคน ซึ่งเป็นการทดลองที่มีชื่อเสียงมากตามแนวคิดของวัตสัน เขาเห็นว่าการเรียนรู้คือการนำเอาสิ่งเร้าไปผูกพันกับการตอบสนองและการตอบสนองที่คนเรามีติดตัวมาก็คือ อารมณ์ เช่น กลัว โกรธ รัก ดังนั้นเขาจึงศึกษาการวางเงื่อนไขเกี่ยวกับความกลัวของเด็กการทดลองได้กระทำกับเด็กคนหนึ่งชื่อ อัลเบิร์ต (Albert) มีอายุ 11 เดือน

.....โดยปกติเด็กคนนี้ไม่รู้จักกลัวสัตว์ใดๆ เลย และชอบเล่นตุ๊กตาที่ทำด้วยผ้าสำลีเป็นขนปุกปุย ต่อมาวัตสันนำเอาหนูขาวที่มีขนปุกปุยน่ารัก มีความเชื่องกับคนมาให้เด็กคนนี้ดู พอเด็กเห็นก็พอใจอยากเล่น จึงคลานเข้าไปจับต้องและเล่นกับหนูขาวจนเป็นที่พอใจ แล้ววัตสันก็นำหนูขาวออกไป ครั้นต่อมาวัตสันนำเอาหนูขาวมาให้เด็กคนนี้ดูอีก เมื่อเด็กเห็นก็ดีใจรีบคลานเข้าไปจะจับหนูขาว พอเข้าไปใกล้กำลังเอื้อมมือจะจับ วัตสันก็เคาะเหล็กทำให้เกิดเสียงดัง เด็กจึงตกใจกลัง ร้องไห้ ไม่กล้าจับหนูขาว วัตสัตได้ทดลองในลักษณะนี้ประมาณ 5 ครั้งติดกัน ทุกครั้งเด็กจะร้องไห้และตกใจกลัว ในที่สุดก็เกิดกลังหนูขาว ซึ่งเพียงแต่เห็นหนูขาวอยู่ไกล ๆ ก็ร้องไห้เสียแล้ว นั่นเป็นการแสดงให้เห็นว่า เด็กกลัวหนูขาวเพราะถูกวางเงื่อนไข

......3.การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (operant conditioning)สกินเนอร์ และ ธอร์นไดค์ เป็นผู้นำที่สำคัญและในช่วงระยะเวลาที่ใกล้เคียงกับการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกของพาฟลอฟธอร์นไดค์ได้ศึกษาถึงความสามารถในการคิดและหาเหตุผลของสัตว์ ทำให้เขาค้นพบหลักการเรียนรู้แบบการกระทำซึ่งสกินเนอร์ก็ได้ให้ความสนใจในแนวคิดนี้และได้ให้ชื่อว่า การวางเงื่อนไขแบบการกระทำการศึกษาในตอนแรกได้ศึกษากับ แมว สุนัข และลิง แต่ที่มีชื่อเสียงและรู้จักกันดีเป็นการศึกษากับแมว โดยเขาจะจับแมวที่กำลังหิวใส่กรงใบหนึ่งที่เขาสร้างขึ้นมา กรงนั้นมีชื่อว่า กรงประตูกล (Puzzle Box) ซึ่งที่กรงจะมีเชือกและลวดสปริงผูกติดต่อกับแผ่นไม้เล็ก ๆ ถ้าบังเอิญไปกดแผ่นไม้เล็ก ๆ นี้จะทำให้เกิดกลไกการดึงทำให้ประตูเปิดออกได้ การทดลองของเขาจะเริ่มโดยจับแมวที่กำลังหิวใส่ไว้ในกรง และข้าง ๆ กรงด้านนอกจะมีปลาดิบวางไว้ไม่ไกลพอที่แมวจะมองเห็นได้ถนัด ในการทดลองสองสามครั้งแรก แมวซึ่งหิวมีอาการงุ่นง่านเพื่อหาทางออกไปกินปลา มันปฏิบัติการตอบสนองมากมายโดยวิ่งไปหลักกรง หน้ากรง เอาอุ้งเท้าเขี่ย เอาสีข้างถูกรง แต่ทั้งหมดก็เป็นไปด้วยการเดาสุ่มจนกระทั่งบังเอิญแมวไปถูกแผ่นไม้เล็ก ๆ นั้น ทำให้ประตูเปิดออก แมวจึงได้กินปลาดิบ
จิตวิทยาการรับรู้การเรียนรู้และจิตวิทยาพัฒนาการการรับรู้

.....เป็นกระบวนการแปลความหมายระหว่างประสาทสัมผัสกับระบบประสาทของมนุษย์ ที่ใช้อวัยวะรับสัมผัสสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ทำให้ส่วนของประสาทสัมผัสในอวัยวะนั้น ส่งผลเชื่อมโยงไปยังสมอง และสมองจะถอดรหัสนั้นไปยังระบบประสาท ทำให้เกิดการรับรู้และรู้สึก

.....จิตวิทยาการรับรู้ เป็นเหตุการณ์ความรู้สึกที่เป็นผลจากกิจกรรมของเซลล์สมอง เป็นลักษณะหนึ่งของจิตแต่ไม่ใช่จิตทั้งหมด

.....จิตวิทยาการเรียนรู้ การเรียนรู้เกิดจากการรับรู้ของระบบประสาท และการแปลรหัสการรับรู้ให้สมองสั่งการ ความรู้สึกใดที่สมองได้บันทึกและจดจำไว้จะเรียกว่าประสบการณ์ เมื่ออวัยวะสัมผัสต่อสิ่งเดิมอีกจะเกิดการระลึกได้องค์ประกอบของการเรียนรู้

.....1. สติปัญญาของผู้รับรู้ ถ้าสติปัญญาดีจะเรียนรู้ได้เร็ว
.....2. ความตั้งใจในกิจกรรมที่ผู้รับรู้สัมผัส
.....3. ความสนใจ การมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งนั้น
.....4. สภาพจิตใจของผู้รับรู้ในขณะนั้นพฤติกรรมการเรียนรู้

จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้แบ่งเป็น 3 กลุ่ม
.....1. พุทธนิยม หมายถึง การเรียนรู้ในด้านความรู้ ความเข้าใจ
.....2. จิตพิสัย หมายถึง การเรียนรู้ด้านทัศนคติ ค่านิยม ความซาบซึ้ง
.....3. ทักษะพิสัย หมายถึง การเรียนรู้เกี่ยวกับการกระทำหรือปฏิบัติงานการเรียนรู้กับการเรียนการสอน

.....ในการสอนที่ดี ผู้สอนจำเป็นต้องนำทฤษฎีการเรียนรู้มาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์ในการเรียนรู้ ซึ่งสามารถกระทำได้หลายสถานการณ์ เช่น
.....1. การมีส่วนร่วมในการรับรู้ โดยให้ผู้เรียนมีโอกาสคิดและไตร่ตรอง
.....2. การทราบผลย้อนกลับ การให้ผู้เรียนได้รับทราบผลของการทำกิจกรรมต่างๆ
.....3. การเสริมแรง ทำให้ผู้เรียนมีความภาคภูมิใจ
.....4. การเรียนรู้ตามระดับขั้น โดยจัดความรู้จากง่ายไปยากจิตวิทยาพัฒนาการ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆของมนุษย์ ตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงวัยชรา
จิตวิทยาการใช้สื่อ
จิตวิทยากับการสร้างสื่อการเรียนการสอน   จิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา อันได้แก่ ทฤษฎีการเรียนรู้ ทฤษฎีแรงจูงใจ และทฤษฎีพัฒนาการ ลักษณะธรรมชาติผู้เรียน สิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการเรียนรู้ตลอดจนวิธีการนำความรู้ความเข้าใจที่เกิดขึ้นไปประยุกต์ใช้....   สื่อการสอนที่ดี ต้องอาศัยห...
การนำจิตวิทยามาสร้างสื่อการเรียนการสอน
สิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการเรียนรู้ วิธีการนำความรู้ความเข้าใจที่เกิดขึ้นไปประยุกต์ใช้....
จิตวิทยากับการสร้างสื่อการเรียนการสอน

จิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา อันได้แก่ ทฤษฎีการเรียนรู้ ทฤษฎีแรงจูงใจ และทฤษฎีพัฒนาการ ลักษณะธรรมชาติผู้เรียน สิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการเรียนรู้ตลอดจนวิธีการนำความรู้ความเข้าใจที่เกิดขึ้นไปประยุกต์ใช้....

สื่อการสอนที่ดี ต้องอาศัยหลักการทางศิลปะ รู้จักเลือกสื่อและวิธีการทำ เพื่อให้สื่อนั้นมีความสวยงาม มีประโยชน์และมีความเหมาะสมกับสภาพการเรียนการสอนมีประโยชน์สามารถช่วยให้ผู้เรียนได้เข้าใจในเนื้อหาและได้เห็นภาพได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้นมากกว่าที่ครูผู้สอนจะสอนโดยการมาบรรยายหรือสอนตามเนื้อหา โดยไม่มีอุปกรณ์ช่วยสอนเลย
มโนทัศน์สำคัญเกี่ยวกับการเรียนการสอนดังที่จะกล่าวต่อไปนี้มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ในการจัดการศึกษา และก่อให้เกิดทฤษฎีการเรียนรู้ต่างๆ ที่จะช่วยอธิบายธรรมชาติ และลักษณะสำคัญของกระบวนการเรียนรู้ที่ดี และจะนำไปสู่การสอนอย่างมีทิศทางและเป้าหมายที่เหมาะสม โดยแยกคำนิยามเกี่ยวกับมโนทัศน์และแสดงให้เห็นรายละเอียดและสาระสำคัญของแต่ละมโนทัศน์ คือ

ศาสตร์การสอน
ศาสตร์การสอน (Science of Teaching) หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้และการสอนที่สังคมโลกได้สั่งสมมาตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน ซึ่งผู้สอนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามเป้าหมาย / จุดหมาย / วัตถุประสงค์ของการสอนที่กำหนด ความรู้ดังกล่าวได้มาจากการคิด การวิเคราะห์ของนักปราชญ์ และนักคิดทั้งหลายหรือได้มาจากการศึกษา ค้นคว้า พิสูจน์ทดสอบตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักจิตวิทยาและนักการศึกษาต่างๆ ข้อความรู้ดังกล่าวประกอบด้วย ปรัชญาการศึกษา บริบท ทางการสอน ทฤษฎี หลักการ แนวคิด ระบบ รูปแบบ วิธีการ เทคนิค และจิตวิทยาทางการเรียนรู้และการสอน การวางแผนและออกแบบการจัดการเรียนการสอน การดำเนินการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล สื่อและเทคโนโลยีทางการสอน นวัตกรรมและการวิจัยการเรียนการสอน เป็นต้น
รูปแบบการสอน / รูปแบบการเรียนการสอน
ระบบการสอน / รูปแบบการเรียนการสอน (Teaching / Instructional Model) คือ แบบแผนการดำเนินการสอนที่ได้รับการจัดเป็นระบบ อย่างสัมพันธ์สอดคล้องกับทฤษฎี / หลักการเรียนรู้หรือการสอนที่รูปแบบนั้นยึดถือ และได้รับการพิสูจน์ ทดสอบว่ามีประสิทธิภาพสามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายเฉพาะของรูปแบบนั้นๆ โดยทั่วไปแบบแผนการดำเนินการสอนดังกล่าว มักประกอบด้วย ทฤษฎี / หลักการที่รูปแบบนั้นยึดถือและกระบวนการสอนที่มีลักษณะ เฉพาะอันจะนำ ผู้เรียนไปสู่จุดมุ่งหมายเฉพาะที่รูปแบบนั้นกำหนด ซึ่งผู้สอนสามารถนำไปใช้เป็นแบบแผนหรือแบบอย่างในการจัดและดำเนินการสอนอื่นๆ ที่มีจุดมุ่งหมายเฉพาะเช่นเดียวกันได้
วิธีสอน
วิธีสอน คือ ขั้นตอนที่ผู้สอนดำเนินการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ด้วยวิธีการต่างๆ ที่แตกต่างกันไปตามองค์ประกอบและขั้นตอนสำคัญอันเป็นลักษณะเด่นหรือลักษณะเฉพาะที่ขาดไม่ได้ของวิธีนั้นๆ เช่น วิธีสอนโดยใช้การบรรยาย องค์ประกอบสำคัญของการบรรยาย คือ เนื้อหาสาระที่จะบรรยาย และการบรรยาย และขั้นตอนสำคัญคือ การเตรียมเนื้อหาสาระ การบรรยาย (พูด บอก เล่า อธิบาย) และการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เกิดจากการบรรยาย ดังนั้นวิธีสอนโดยใช้การบรรยาย ก็คือกระบวนการหรือขั้นตอนที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยการเตรียมเนื้อหาสาระที่จะบรรยาย แล้วบรรยาย คือ พูด บอก เล่า อธิบาย เนื้อหาสาระหรือสิ่งที่ต้องการสอนแก่ผู้เรียนและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง ต่อความหมายการสอน

ความหมายของการสอน
การสอน เป็นงานหลักของครู ซึ่งปัจจุบันถือว่าครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง ที่บุคคลในวิชาชีพนี้ ต้องได้รับการศึกษาอบรมมาโดยเฉพาะเพื่อให้มีความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติหน้าที่ สามารถเลือกศึกษา อบรมมาโดยเฉพาะ เพื่อให้มีความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติหน้าที่ สามารถเลือกวิธีปฏิบัติงานที่เหมาะสม เพื่อช่วยให้นักเรียนมีความรู้ ทักษะ และเจตคติ ดังที่ระบุไว้ในจุดประสงค์การสอน ครูต้องมีการฝึกฝนด้านการสอนอยู่เสมอเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ในการทำงานเช่นเดียวกับวิชาชีพชั้นสูงอื่นๆ และต้องมีมาตรฐานของวิชาชีพ การที่ครูสามารถปฏิบัติงานการสอนได้ดีขึ้นอยู่กับความสามารถในการผสมผสานศาสตร์ว่าด้วยการสอนกับศิลปะของการสอนเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดประสิทธิผลของการสอนสูงสุด
จิตวิทยาการเรียนรู้วัยผู้ใหญ่
 กลุ่มเป้าหมายผู้เข้ารับการบริการและผู้เข้าร่วมกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียนส่วนใหญ่ เป็นผู้ใหญ่ ตลอดจนกระทั่งผู้เรียนที่เป็นผู้ใหญ่ ก็มีอยู่เป็นจำนวนมากด้วยเช่นเดียวกัน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้เกี่ยวข้องกับ'koการศึกษานอกโรงเรียน จะต้องมีความรู้และความ เข้าใจในพัฒนาการและการเรียนรู้ของผู้ใหญ่

วัยผู้ใหญ่นั้นเป็นช่วงเวลาที่ยาวนานที่สุดสำหรับมนุษย์เราทุกคน ตลอดจนเป็นช่วงเวลาที่สามารถทำประโยชน์ให้กับสังคมได้มากที่สุด และเป็นเวลาที่เราจะต้องมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันตลอดไปด้วย โดยเฉพาะในด้านที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนสำหรับผู้ใหญ่ ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ ทั้งด้านที่เกี่ยวกับพัฒนาการ สมมุติฐานที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ การเปลี่ยนแปลงในวัยผู้ใหญ่ซึ่งมีผลต่อการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนรู้สำหรับผู้ใหญ่ และเทคนิคในการสอนผู้ใหญ่




 พัฒนาการและภารกิจในวัยผู้ใหญ่
เฮฟวิกเฮิร์ท (อ้างใน สุวัฒน์วัฒนวงศ์,2528 : 201) เป็นนักจิตวิทยาที่ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการของมนุษย์ในแง่ของสังคมวิทยา ที่เกี่ยวข้องกับบทบาทภาระหน้าที่ของคนในวัยผู้ใหญ่ ได้แบ่งพัฒนาการของบุคคลออกเป็น 6 ระยะด้วยกัน โดย 3 ระยะแรกเกี่ยวกับวัยเด็กจนถึงวัยรุ่น สำหรับ 3 ระยะหลังนั้นเกี่ยวข้องกับพัฒนาการในวัยผู้ใหญ่โดยเฉพาะ ซึ่งแยกระยะเวลาของแต่ละช่วงได้ดังนี้
 1.วัยผู้ใหญ่ตอนต้น (Early Adulthood) อายุ 18 ถึง 35 ปี
 2.วัยผู้ใหญ่ตอนกลาง (Middle Adulthood) อายุ 35 ถึง 60 ปี
 3.วัยชราหรือวัยผู้สูงอายุ (Later Maturity) อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป
  ภารกิจเชิงพัฒนาการของผู้ใหญ่
 สิ่งที่จะช่วยบ่งชี้ถึงพัฒนาการมนุษย์ในวัยต่างๆ ได้อย่างดียิ่งคือ "ภารกิจเชิงพัฒนาการ" ซึ่งมีความหมายเกี่ยวกับภารกิจที่บุคคลทั่วๆ ไปควรจะปฏิบัติ หรือควรจะกระทำในแต่ละช่วงของระยะเวลาพัฒนาการ และถ้าหากบุคคลประสบความล้มเหลวหรือไม่สามารถประกอบภารกิจนั้นๆ ได้ อาจจะก่อให้เกิดปัญหาด้านพัฒนาการในแต่ละขั้นตอน
 การพิจารณาพัฒนาการในวัยผู้ใหญ่ทั้ง 3 ระยะตามที่ Havighurstได้แยกไว้ โดยใช้เกณฑ์เกี่ยวกับภารกิจเชิงพัฒนาการเป็นแนวทางในการศึกษาถึงภาระหน้าที่ต่างๆ ของผู้ใหญ่แต่ละวัย
 1.ภารกิจเชิงพัฒนาการในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น
 ผู้ใหญ่ในวัยอายุประมาณ 18 - 35 ปี มีภาระหน้าที่สำคัญๆ ดังต่อไปนี้
 - การเลือกหาคู่ครอง หรือเพื่อนสนิท
 - การเรียนรู้ที่จะอยู่อาศัยกับคู่ครอง สามี - ภรรยาได้ตลอดไป
 - เริ่มต้นการมีชีวิตครอบครัว
 - มีภาระหน้าที่ในการอบรมเลี้ยงดูเด็กๆ และลูกๆ
 - การแสวงหาที่พัก รวมทั้งการมีบ้านเป็นของคนเอง
 - การเริ่มต้นที่จะมีอาชีพเป็นที่แน่นอนและมั่นคง
 - มีความรับผิดชอบในฐานะการเป็นพลเมืองดี
 - การเสาะแสวงหากลุ่มทางสังคม ที่เหมาะสมกับอุปนิสัยของตนเอง เช่น การเป็นสมาชิกสมาคมหรือสโมสรต่างๆ

2.ภารกิจเชิงพัฒนาการในวัยผู้ใหญ่ตอนกลาง
 ช่วงอายุระหว่าง 35 - 60 ปี มีภาระหน้าที่สำคัญๆ ดังนี้คือ
 - การได้รับความสำเร็จในฐานะการเป็นพลเมืองดี หรือการมีความรับผิดชอบด้านสังคม การได้รับชื่อเสียง
 - เริ่มมีหลักฐานที่มั่นคง และพยายามรักษาสถานภาพด้านเศรษฐกิจ รวมทั้งมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดีและเหมาะสมกับฐานะ
 - ให้ความช่วยเหลือแก่ลูก
 - หลาน ที่มักจะอยู่ในระยะวัยรุ่น และพยายามทำตัวเองให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีความสุข
 - มีการใช้เวลาว่างและมีกิจกรรมสันทนาการที่เหมาะสมกับวัย และความสนใจ
 - มีการยอมรับและการปรับตัวเอง ให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายของ ผู้ใหญ่ในวัยนี้
 - มีการปรับตัวให้เหมาะสมกับการเป็นผู้ใหญ่ที่มีบทบาทเป็นพ่อ - แม่ คือยอมรับสภาพความเป็นจริงของการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ภายในครอบครัว
 3.ภารกิจเชิงพัฒนาการในวัยชรา
คือผู้ที่มีอายุเกินกว่า 60 ปีขึ้นไป ควรจะมีบทบาทและภาระหน้าที่ดังต่อไปนี้
 - เรียนรู้ และปรับตัวเกี่ยวกับความเสื่อมโทรมทางด้านร่างกาย ความเข้มแข็งและสุขภาพร่างกายทั่วๆ ไป
 - มีการปรับตัวเองเกี่ยวกับการเกษียณอายุจากการทำงาน และเงินรายได้ที่ลดน้อยลงไปด้วย
 - มีการปรับตัวในด้านการเสียชีวิตคู่ครองที่อาจจะต้องเกิดขึ้น และตัวเองต้องเป็นหม้าย
 - มีบทบาท และมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับบุคคลที่มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน ซึ่งมีความสนใจใกล้เคียงกัน
- มีการพบปะ เพื่อการปรึกษาหารือกับคนในวัยเดียวกัน หรือทำกิจกรรมเพื่อสังคมร่วมกันบ้างเป็นครั้งคราว
- มีการกำหนดสถานที่อยู่อาศัย ในภาพที่ตนเองพอใจ โดยอาจจะอยู่อาศัยรวมกันลูกๆ หลานๆ เพื่อนฝูง หรือในหมู่บ้านคนชรา เป็นต้น
  สมมุติฐานที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้ใหญ่
 ศาสตราจารย์ เดย์ (H.I Day, 1971) นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยโตรอนโต แคนาดา ได้ทำการศึกษาค้นคว้าและได้นำเสนอแนวคิด ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งที่ให้ประโยชน์ในการตรวจสอบเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ ช่วยให้นักการศึกษาผู้ใหญ่มีความเข้าใจในเรื่องการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ดีขึ้น สมมุติฐานที่มีคุณค่าทั้ง 5 ประการนั้น ได้แก่
 1. ช่วงชีวิตของผู้ใหญ่
จากการศึกษาถึงปัญหาต่างๆ ในช่วงชีวิตของคน ทำให้ทราบถึงสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและมีอิทธิพลต่อสติปัญญาของผู้ใหญ่ อันมีผลทำให้การเรียนรู้ของผู้ใหญ่ด้อยกว่าคนหนุ่มสาว ปัญหาอันสำคัญก็คือการเสื่อมถอย ซึ่งเป็นลักษณะธรรมชาติของชีวิตนั่นเอง และการเสื่อมถอยนั้นพบว่ามีองค์ประกอบที่สำคัญๆ 3 ประการ สำหรับผู้ใหญ่ ได้แก่
 1.การไม่ได้ใช้ ความล้มเหลวเกี่ยวกับความสามารถต่างๆ นั้นมีสาเหตุสำคัญมากจากการไม่ใช่สิ่งนั้นเป็นเวลานาน
 2.โรคภัยไข้เจ็บ ความเจ็บป่วยนับว่าเป็นอุปสรรคที่ทำให้มีการเสื่อมถอยได้มากยิ่งขึ้น ในวัยผู้ใหญ่
 3.การขาดความสนใจ เนื่องจากไม่มีแรงจูงใจที่สูงมากพอจึงมักจะทำให้ไม่ค่อยเกิดความสนใจในกิจกรรมต่างๆ
2. การเปลี่ยนแปลงบทบาท
การเปลี่ยนแปลงบทบาทที่สำคัญๆ ซึ่งบังเกิดขึ้นแก่ผู้ใหญ่ มักจะได้แก่การบรรลุถึงจุดสุดยอดในอาชีพการงาน ช่วยให้บุตรได้รับอิสรภาพและเป็นผู้ใหญ่ที่มีความรับผิดชอบต่อไป การยอมรับสภาพชีวิตครอบครัวที่ลูกๆ แยกตัวออกไปในบางครั้งผู้ใหญ่ก็เกิดความสับสนในบทบาทฐานะทางสังคม หรือระดับฐานะทางเศรษฐกิจและระดับขั้นทางสังคมได้เสมอๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ โนลส์ (Malclom S. Knowles) ได้แยกประเภทของบทบาทต่างๆ ควบคู่กับสมรรถภาพของบทบาท มีสาระสำคัญของข้อเสนอแนะมีดังต่อไปนี้
 บทบาท สมรรถภาพ
 1.ผู้เรียน การอ่าน การเขียน การคิด - คำนวณ การรับรู้ การมีความคิดรวบยอด การประเมินผล จินตนาการ
 2.การรู้จักตนเอง การวิเคราะห์ตนเอง การมีความรู้สึก การสร้างเป้าหมายในชีวิต การทำให้คุณค่าของชีวิต เด่นชัด การแสดงออก
 3.ความเป็นเพื่อน ความรัก ความเห็นอกเห็นใจ การรับฟัง การให้ความร่วมมือ การแบ่งปัน การให้ความช่วยเหลือและสนับสนุน
 4.การเป็นพลเมืองดี การมีส่วนร่วมคือ การเป็นผู้นำ การตัดสินใจการอภิปรายแสดงความคิดเห็น การมองเห็นคุณค่าอื่นๆ
 5.สมาชิกครอบครัว การบำรุงรักษาสุขภาพ การวางแผนการจัดการ การให้ความช่วยเหลือสมาชิกในครอบครัว การใช้จ่าย การประหยัด ความรักที่มีต่อบุคคลอื่นๆ การมีความรับผิดชอบ
 6.ผู้ทำงาน การวางแผนด้านอาชีพ มีทักษะในการทำงาน การให้คำแนะนำ การทำงานร่วมกับผู้อื่น การเป็นตัวแทน ความสามารถในการดำเนินกิจการ
 7.การเป็นผู้ใช้เวลาว่าง รู้จักหาแหล่งวิทยาการต่างๆ ความซาบซึ้ง การรู้จักเล่นและออกกำลังกาย การพักผ่อนหย่อนใจ การเสี่ยงโชค
การเปลี่ยนแปลงบทบาทเหล่านี้จะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับบุคลิกภาพ และการพัฒนาตนเอง แต่ว่าการเปลี่ยนแปลงบทบาทต่างๆ อาจทำให้เกิดความตึงเครียดทางอารมณ์ได้ ผู้ใหญ่จึงควรจะได้เรียนรู้วิธีการพักผ่อนหย่อนใจเสียบ้าง ในการเปลี่ยนแปลงบทบาทของบุคคลเช่นที่กล่าวมานี้ ทำให้บุคคลต้องประสบกับความเคร่งเครียดอันเป็นผลของการเปลี่ยนแปลง ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ นักจิตวิทยา และจิตแพทย์ มีความเห็นว่ามีสิ่งสำคัญที่ผู้ใหญ่สามารถเรียนรู้ได้ คือ ต้องรู้จักวิธีการผ่อนคลายความตึงเครียดของอารมณ์เหล่านี้ให้ได้

 3. วุฒิภาวะ
คำว่า "วุฒิภาวะ" หมายความว่ามนุษย์สามารถมีพัฒนาการไปในทิศทางที่อาจคาดการณ์ได้แน่นอน โดยเฉพาะก็คือจะมีความเป็นอิสระมากยิ่งขึ้น เป็นบุคคลที่มีความรับผิดชอบตนเองได้ มีระเบียบกฎเกณฑ์ของตัวเอง มีความสามารถในการควบคุมตนเองได้ โดยสรุปก็คือบุคคลไม่จำเป็นที่จะต้องได้รับการควบคุมจากสิ่งภายนอก ในการที่จะมาบีบบังคับให้กระทำพฤติกรรมต่างๆ นอกจากนั้นแล้วพัฒนาการของมนุษย์ในส่วนที่เกี่ยวกับวุฒิภาวะ ยังได้รับอิทธิพลมาจากการชี้แนวทางในการอบรมเลี้ยงดูเด็กด้วย
 4. ประสบการณ์ของผู้ใหญ่
องค์ประกอบที่สำคัญมากในด้านการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ ก็คือ การมีประสบการณ์ที่มี คุณค่าอย่างยิ่งของผู้ใหญ่ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใหญ่นำเอาคุณค่าเหล่านี้มาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการเรียนรู้ ประสบการณ์ของผู้ใหญ่อาจจำแนกออกได้เป็น 3 ด้าน ก็คือ
 1.ผู้ใหญ่ทั้งหลายจะมีประสบการณ์อยู่อย่างมากมาย
 2.ผู้ใหญ่จะมีประสบการณ์ที่แยกออกเป็นประเภทๆ ได้แตกต่างกันไป
 3.ประสบการณ์ของผู้ใหญ่มีการจัดเรียงลำดับ แตกต่างกัน
. ประสบการณ์ของผู้ใหญ่
องค์ประกอบที่สำคัญมากในด้านการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ ก็คือ การมีประสบการณ์ที่มี คุณค่าอย่างยิ่งของผู้ใหญ่ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใหญ่นำเอาคุณค่าเหล่านี้มาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการเรียนรู้ ประสบการณ์ของผู้ใหญ่อาจจำแนกออกได้เป็น 3 ด้าน ก็คือ
 1.ผู้ใหญ่ทั้งหลายจะมีประสบการณ์อยู่อย่างมากมาย
 2.ผู้ใหญ่จะมีประสบการณ์ที่แยกออกเป็นประเภทๆ ได้แตกต่างกันไป
 3.ประสบการณ์ของผู้ใหญ่มีการจัดเรียงลำดับ แตกต่างกัน
  5. การเป็นผู้เรียนรู้ด้วยตนเอง
จุดมุ่งหมายสำคัญของการศึกษาผู้ใหญ่ หรือการศึกษาประเภทใดๆ ก็ตาม มีความมุ่งหมายที่จะทำให้ผู้เรียน ดำเนินการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยเกิดการเรียนรู้จากภายในตัวผู้เรียนเอง ซึ่งการที่ผู้เรียนจะมีลักษณะเช่นนี้ได้ เขาควรจะเป็นนักคิด เป็นนักสร้างสรรค์และขยายสมรรถภาพการเรียนรู้ไปตลอดชีวิตด้ว
 สิ่งที่มีความสัมพันธ์กับการเป็นผู้เรียนรู้ด้วยตนเองอย่างมาก คือ "บทบาททางสังคม" จากการศึกษาค้นคว้าส่วนมากได้ชี้ให้เห็นว่าบทบาททางสังคมบางอย่าง เช่น การเป็นพ่อ - แม่ การเป็นคู่ครอง (สามี - ภรรยา) ช่วยทำให้บุคคลซึ่งต้องแสดงบทบาทนั้นสามารถเรียนรู้และวางตัวได้ถูกต้องเหมาะสม ซึ่งบุคคลส่วนมากก็ตระเตรียมตัวเองในการเรียนรู้ บทบาทเหล่านี้ได้อย่างรวดเร็ว และสามารถแสดงบทบาททางสังคมเหล่านี้ได้อย่างดีด้วย
จิตวิทยาทั่วไป
ใครๆ ก็บอกว่าผู้ชายมาจากดาวอังคาร (หนังสือขายดีของ ดร.จอนห์เกรย์ ที่เขียนถึงความแตกต่างของหญิงชาย เพื่อให้เกิดการยอมรับและเข้าใจ ลดความขัดแย้ง ในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างกัน) วันๆ คิดแต่เรื่องกีฬา เบียร์ และเรื่องบนเตียง (บางทีอาจสลับกันก็ได้) พวกผู้ชายไม่ยอมถามเส้นทางเมื่อหลง ไม่เปิดเผยความรู้สึกในใจจริงไหม รายงานพิเศษของเราจะตีแผ่ความลับของผู้ชายซึ่งคุณอาจต้องประหลาดใจ
ลูกผู้ชายต้องเข้มแข็ง และความเชื่อเกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึกของชาย
ใครสะอื้นไห้เวลาดูหนังเศร้า ใครจะเป็นจะตายเวลาอกหัก ไม่น่าเชื่อว่าคำตอบคือผู้ชาย ผลการศึกษาเผยว่าผู้ชายมีอารมณ์ความรู้สึกซับซ้อนและเข้าใจยากไม่แพ้ผู้หญิง บางครั้งอาจลึกลับจนแม้ตัวเขาเองก็ไม่เข้าใจ นับประสาอะไรกับผู้หญิง

 แม้อารมณ์จะเป็นจุดเด่นที่สุดของผู้หญิงแต่ผู้ชายก็มีความอ่อนไหวและมีประสบการณ์ด้านอารมณ์ได้มากพอๆกัน ในการศึกษาภาวะด้านอารมณ์ของผู้ใหญ่ 500,000 คน กลุ่มตัวอย่างเพศชายระบุว่ารู้สึกอ่อนไหวสูงพอๆ กับกลุ่มตัวอย่างเพศหญิง การศึกษาคู่สามีภรรยาพบว่าทั้งสองอ่อนไหวต่อความเครียดของคู่สมรสมากเท่าๆ กัน แต่ก็สามารถปลอบโยนอีกฝ่ายได้ดีไม่แพ้กัน

 แม้หญิงชายอาจถอนหายใจ ร้องไห้ เฮฮา กราดเกรี้ยว ตะโกน หรือแสดงความรำคาญได้บ่อยพอกัน แต่ทั้งสองเพศมีวิธีแสดงอารมณ์ต่างกัน อารมณ์เป็นฉากหลังในชีวิตของผู้ชายขณะที่เป็นฉากหน้าในชีวิตของผู้หญิงดร. จอช โคลแมน นักจิตวิทยาผู้เขียนหนังสือ สามีจอมขี้เกียจ กล่าวว่า ฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน ส่งผลต่อความรู้สึกของผู้ชายซึ่งจัดหมวดหมู่สิ่งต่างๆ และมองทุกอย่างเป็นเหตุเป็นผลมากกว่า ดูเหมือนหญิงจะโอนอ่อนตามอารมณ์มากกว่าชายซึ่งพยายามจัดการกับอารมณ์เหล่านี้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ผลประโยชน์ก็ตกอยู่กับทั้งสองฝ่าย ความสัมพันธ์ดีขึ้นและทั้งคู่ก็มีความสุขมากขึ้น

สาขาต่างๆของจิตวิทยา
จิตวิทยาคลินิก
จิตวิทยาคลินิกจะมีจุดที่เน้นอยู่ 2 ส่วน คือ การทำแบบทดสอบทางจิตวิทยา
(ระดับ A คือนักจิตวิทยาสาขาอื่นไม่สามารถทำได้เช่น rorchach WAIS เป็นต้น) และทำจิตบำบัด
การเรียนจะเกี่ยวกับอาการผิดปกติทางจิต ทั้งเรื่องโรค พยาธิสภาพ การใช้เครื่องมือหรือแบบวัดทางจิต เพื่อใช้ในการตรวจเป็นข้อมูลประกอบในการวินิจฉัยโรคทางจิต การทำจิตบำบัด
         งาน - ตรงตามสายงานคือเป็นนักจิตวิทยาคลินิกในโรงพยาบาล เพื่อทำการประเมินและบำบัดทางจิตแก่ผู้ป่วยทางจิตเวช เป็นนักจิตวิทยาตามสถานพินิจหรือศาล เพื่อทำการประเมินสภาพจิตของผู้ต้องหา รวมทั้งทำกิจกรรมหรือบำบัดทางจิตแก่ผู้ต้องขัง ตอนนี้ทางจิตวิทยาคลินิกมีการสอบใบประกอบโรคศิลปแล้ว ซึ่งทำให้คาดว่าน่าจะสามารถเปิดคลินิกบำบัดได้เช่นเดียวกับในต่างประเทศ และจะทำให้สามารถรับงานอิสระได้มากขึ้น
 จิตวิทยาอุตสาหกรรมฯ
จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ (Industrial and Organizational Psychology) เป็นศาสตร์ที่ศึกษาจิตวิทยา เพื่อนำมาประยุกต์กับการทำงานและนำมาซึ่งความเป็นอยู่ที่ดีของบุคลากรทุกระดับในบริบทของการทำงาน ยังผลให้องค์การสามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของประเทศไทยที่จำเป็นต้องพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อเพิ่มคุณภาพประสิทธิภาพ และผลิตภาพ(ที่มา:http://www.psy.chula.ac.th/psy/files/ProgramIO.pdf)
เรียนตั้งแต่คัดเลือกคนเข้าทำงานให้เหมาะสม จะมีคำที่เป็นคติของจิตอุตฯว่า put the right man on the right job อีกส่วนก็คือการฝึกอบรมพนักงาน คือเรียนเกี่ยวกับการพยายามให้งานที่จะออกมานั้นมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยคำนึงถึง ทรัพยากรมนุษย์ ด้วยอะค่ะ
งานที่ตรงสาขาที่สุดก็เลยเป็นตำแหน่งฝ่ายบุคคล หรือเจ้าหน้าที่ฝึกอบรมตามบริษัทหรือโรงงานต่างๆ
จิตพัฒนาการ 
จิตพัฒนาการจะเน้นที่การส่งเสริมพัฒนาการของบุคคลในทุกช่วงวัยให้เป็นไปตามพัฒนาการของและช่วงวัย ซึ่งมักจะมุ่งเน้นไปที่กลุ่มเด็กและวัยรุ่น เรียนพัฒนาการทุกช่วงวัย ทั้งทางร่างกาย จิตใจ ความต้องการทางสังคม การใช้ชีวิต ตั้งแต่อยู่ในท้องแม่, อุแว้ๆ ออกมา เป็นทารก เป็นเด็ก เป็นวัยรุ่น, ผู้ใหญ่จนกระทั่งแก่ตาย
จิตวิทยาพัฒนาการเป็นเสมือนสาขาใหญ่ของจิตวิทยาที่เรียนเกี่ยวกับพัฒนาการของมนุษย์ในทุกช่วงวัย ซึ่งสามารถศึกษาต่อเฉพาะช่วงวัยได้อีกเช่น จิตวิทยาเด็ก จิตวิทยาวัยรุ่น เป็นต้น สาขานี้เกิดจากแนวความคิดที่จะอธิบายพฤติกรรม จิตใจ รวมทั้งความสามารถต่างๆของมนุษย์ในแต่ละช่วงวัย และเพื่อที่หาหาแนวทางที่จะทำให้มนุษย์มีพัฒนาการที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัยของตนเอง
 จิตวิทยาสังคม
จิตวิทยาสังคม เป็นวิชาที่ศึกษาพฤติกรรมทางสังคมของมนุษย์ โดยศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกัน เพื่อทำความเข้าใจอิทธิพลของสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่มีผลต่อพฤติกรรมของมนุษย์
จิตวิทยาชุมชนนั้นแยกออกมาจากจิตวิทยาคลินิกอีกทีแต่จะเป็นการทำงานในทางป้องกันมากกว่ารักษา จิตวิทยาชุมชนจะมีลักษณะที่พิเศษอีกอย่างหนึ่งคือจะเป็นเหมือนจุดกึ่งกลางระหว่างจิตวิทยาคลินิก จิตวิทยาอุตสาหกรรม และจิตวิทยาสังคม งานที่ส่วนใหญ่มักเข้าไปทำคือการฝึกอบรม
 จิตวิทยาการปรึกษา
จิตวิทยาการปรึกษา (Counseling Psychology) เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับ การปรึกษาเชิงจิตวิทยา (Counseling) ซึ่งเป็นกระบวนการที่มุ่งให้ผู้มีปัญหาได้ทำความเข้าใจกับปัญหาของตน และมองเห็นแนวทางในการแก้ปัญหาได้ด้วยตัวเอง โดยนักจิตวิทยาการปรึกษา (Counselor) มีหน้าที่เป็นผู้เอื้อให้ผู้มีปัญหาได้เข้าใจปัญหาของตนอย่างชัดเจนที่สุด นักจิตวิทยาการปรึกษาจะไม่เข้าไปบงการ แนะนำ หรือ แทรกแซง ผู้รับบริการ แต่ละช่วยให้เค้าสามารถจัดการปัญหาได้ด้วยตัวเอง
         ผู้เข้ารับบริการการปรึกษาเชิงจิตวิทยาจะได้รับประโยชน์ ในแง่ของการเกิดความเข้าใจในตนเอง และสามารถวางแนวทางการดำเนินชีวิตตนเองได้อย่างเหมาะสม สามารถเผชิญสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตได้อย่างมั่นคง และสามารถจัดการปัญหาของตนได้อย่างสอดคล้องและเหมาะสมกับความเป็นจริง และยังช่วยให้ค้นพบศักยภาพได้อย่างเต็มที่ ในการพัฒนาตนเองไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ ขยายทัศนะการสองโลก และชีวิตก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตนเองในทางที่ดี
















อ้างอิง
http://www.psy.chula.ac.th/psy/files/intro_counseling.pdf